วโรชา จันทโชติ
เกษตรกรที่ไม่เคยหยุดคิด ได้พัฒนาหาวิธีการปลูกพืช นำวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ดิน แถมให้ผลผลิตสูง โรคน้อย ในแบบที่ไฮโดรโปนิกส์ทำไม่ได้
นายวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชา ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” เนื้อแน่น น้ำเยอะ เปลือกบาง ไร้เมล็ด ที่สำคัญทนต่อโรค เล่าให้ฟังถึงที่มาของการทำวัสดุปลูกทดแทนดิน...
จุดเริ่มต้นมาจากในพื้นที่มีน้ำท่วมอยู่เป็นประจำเกือบทุกปี
จึงทดลองปลูกมะนาวลงในกระถางเพื่อหนีน้ำท่วม แต่เมื่อเอาดินลงกระถาง เกิดปัญหาดินแน่นและชุ่มน้ำ รากมะนาวเน่าตาย จึงทดลองใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนดิน แบบลองผิดลองถูกมาตลอด... ในที่สุดมาลงตัวที่ผักตบชวา
เพราะมีข้อดี หาได้ง่ายจากธรรมชาติเสมือนเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมไปในตัว มีลักษณะร่วนซุย ไม่อมน้ำ ทำให้รากพืชชอนไชได้ดี หากินได้ง่าย ดูดซึมอาหารและแร่ธาตุได้เต็มที่
สำหรับกรรมวิธีทำวัสดุทด แทนดิน ก่อนอื่นต้องเตรียมวัสดุส่วนผสมทั้งหมด...ปูนมาล หรือแคลเซียมคาร์โบเนต, ขุยมะพร้าว, แกลบดิบ (ควรเป็นแกลบค้างปี), ขี้เถ้าแกลบ, ผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น (ถ้าเป็นใบก้ามปูจะดีมาก) คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำหมัก หรือ EM สัดส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงไปและที่ขาดไม่ได้ “ยาฆ่าเชื้อรา” หากไม่ใส่มีโอกาสสูงที่วัสดุทดแทนดินจะเกิดเชื้อรา ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผล... ขั้นตอนต่อมาใช้แสลนคลุมหมักทิ้งไว้ 15 วัน ถึงจะสามารถนำไปใช้งานได้
ส่วนกรรมวิธีการปลูก วโรชา แนะให้นำมาใส่ในวงบ่อซีเมนต์ ให้แบ่งวงบ่อเป็น 4 ส่วน...3 ส่วนแรก ให้นำผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น รองก้นบ่อลงไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดและช่วยให้มีน้ำหนักเบา อีก 1 ส่วนที่เหลือ ให้ใส่วัสดุทดแทนดินนี้ลงไปตรงกลาง
เพียงเท่านี้สามารถนำต้นไม้ลงไปปลูกได้ เมื่อวัสดุทดแทนดินยุบตัวลง ให้เติมตามสัดส่วนที่ยุบและควรทำไม้ค้ำยันต้นไม้ไว้เพื่อกระชับ เพราะลักษณะวัสดุทดแทนดินนี้จะร่วนซุยมาก ถ้าไม่ค้ำยันต้นไม้จะล้มทำให้เกิดความเสียหายได้
ผลทดลองนำมาใช้กับการปลูกมะนาว ปรากฏว่า นอกจากจะไม่มีเชื้อรามาทำลายให้รากเน่าตายแล้ว ปลูกไปแค่ 6 เดือน ออกดอกให้ผลดก....ในขณะที่ปลูกลงดินทั่วไปต้องใช้เวลาถึงปีครึ่งกว่าจะมีลูกออกมาอวดโฉม
สนใจเยี่ยมชมศึกษาดูงานแบบไม่หมกเม็ด สอบถามได้ที่ 08-8118-8234.
เกษตรกรที่ไม่เคยหยุดคิด ได้พัฒนาหาวิธีการปลูกพืช นำวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ดิน แถมให้ผลผลิตสูง โรคน้อย ในแบบที่ไฮโดรโปนิกส์ทำไม่ได้
นายวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชา ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” เนื้อแน่น น้ำเยอะ เปลือกบาง ไร้เมล็ด ที่สำคัญทนต่อโรค เล่าให้ฟังถึงที่มาของการทำวัสดุปลูกทดแทนดิน...
จุดเริ่มต้นมาจากในพื้นที่มีน้ำท่วมอยู่เป็นประจำเกือบทุกปี
จึงทดลองปลูกมะนาวลงในกระถางเพื่อหนีน้ำท่วม แต่เมื่อเอาดินลงกระถาง เกิดปัญหาดินแน่นและชุ่มน้ำ รากมะนาวเน่าตาย จึงทดลองใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนดิน แบบลองผิดลองถูกมาตลอด... ในที่สุดมาลงตัวที่ผักตบชวา
เพราะมีข้อดี หาได้ง่ายจากธรรมชาติเสมือนเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมไปในตัว มีลักษณะร่วนซุย ไม่อมน้ำ ทำให้รากพืชชอนไชได้ดี หากินได้ง่าย ดูดซึมอาหารและแร่ธาตุได้เต็มที่
สำหรับกรรมวิธีทำวัสดุทด แทนดิน ก่อนอื่นต้องเตรียมวัสดุส่วนผสมทั้งหมด...ปูนมาล หรือแคลเซียมคาร์โบเนต, ขุยมะพร้าว, แกลบดิบ (ควรเป็นแกลบค้างปี), ขี้เถ้าแกลบ, ผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น (ถ้าเป็นใบก้ามปูจะดีมาก) คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำหมัก หรือ EM สัดส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงไปและที่ขาดไม่ได้ “ยาฆ่าเชื้อรา” หากไม่ใส่มีโอกาสสูงที่วัสดุทดแทนดินจะเกิดเชื้อรา ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผล... ขั้นตอนต่อมาใช้แสลนคลุมหมักทิ้งไว้ 15 วัน ถึงจะสามารถนำไปใช้งานได้
ส่วนกรรมวิธีการปลูก วโรชา แนะให้นำมาใส่ในวงบ่อซีเมนต์ ให้แบ่งวงบ่อเป็น 4 ส่วน...3 ส่วนแรก ให้นำผักตบชวา หรือเศษไม้ใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่น รองก้นบ่อลงไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดและช่วยให้มีน้ำหนักเบา อีก 1 ส่วนที่เหลือ ให้ใส่วัสดุทดแทนดินนี้ลงไปตรงกลาง
เพียงเท่านี้สามารถนำต้นไม้ลงไปปลูกได้ เมื่อวัสดุทดแทนดินยุบตัวลง ให้เติมตามสัดส่วนที่ยุบและควรทำไม้ค้ำยันต้นไม้ไว้เพื่อกระชับ เพราะลักษณะวัสดุทดแทนดินนี้จะร่วนซุยมาก ถ้าไม่ค้ำยันต้นไม้จะล้มทำให้เกิดความเสียหายได้
ผลทดลองนำมาใช้กับการปลูกมะนาว ปรากฏว่า นอกจากจะไม่มีเชื้อรามาทำลายให้รากเน่าตายแล้ว ปลูกไปแค่ 6 เดือน ออกดอกให้ผลดก....ในขณะที่ปลูกลงดินทั่วไปต้องใช้เวลาถึงปีครึ่งกว่าจะมีลูกออกมาอวดโฉม
สนใจเยี่ยมชมศึกษาดูงานแบบไม่หมกเม็ด สอบถามได้ที่ 08-8118-8234.