สวนรักษ์มะนาว

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

ชาวสวน แนะนำ

ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” สุดยอดปราชญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกมะนาวออกลูกต้นละหนึ่งพันถึงสามพันลูก คนคิดค้นเผยจบ ม.3 ลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ

มะนาว สารพัดประโยชน์

สารพัดประโยชน์จากมะนาว

มะนาว ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Citrus aurantifolia
มะนาว จะมีลักษณะเป็นลูกกลมมน มีสีเขียวสดใส แต่ถ้าแก่จัดจะเป็นสีเหลือง

  • ในมะนาวจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิดที่เด่นๆ ก็ได้แก่ วิตามินซี นอกจากวิตามินซีแล้วยังมีวิตามินต่างๆ อีกหลายชนิด รวมไปถึงแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์อีกมากมาย
  • มะนาว จากผลของการค้นคว้าวิจัยระบุได้ว่า มะนาวมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงร่างกายและรักษาอาการของโรคได้หลายอย่าง เช่น

ประโยชน์จากมะนาว

  1. ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้อาการไอ ขับเสมหะ และช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
  3. ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นป้วนปากในทุกเช้า จะช่วยทำให้ปากสะอาด ลดปัญหาฟันผุ ช่วยรักษาอาการเหงือกอักเสบ และยังช่วยขจัดคราบดำๆ ตามซอกฟันที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดการเกิดคราบหินปูนที่บริเวณฟันได้เป็นอย่างดี
  4. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเพ้อ แก้อาการท้องผูก เพียงรับประทานน้ำมะนาวผสมกับเกลือป่นเพียงเล็กน้อย
  5. ผสมน้ำมะนาวกับน้ำผึ้ง รับประทาน จะเป็นยาที่สามารถช่วยขับพยาธิไส้เดือนออกจากร่างกายได้
  6. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ
  7. ช่วยรักษาอาการของโรคกระเพาะ เพียงดื่มน้ำมะนาวผสมกับน้ำอุ่นเป็นประจำ อาการของโรคกระเพาะจะค่อยๆ ทุเลาลง
  8. ช่วยบำรุงเลือด ฟอกเลือดและช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง เพียงแค่คุณนำน้ำมะนาวผสมกับน้ำหวานและเกลือป่นเพียงเล็กน้อย ดื่มเป็นประจำ ก็จะช่วยให้เลือดลมดีขึ้น ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่งขึ้นได้อีกด้วย
  9. วิตามินซีในมะนาว มีส่วนในการช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส ลดปัญหาการเกิดเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
  10. รักษาอาการของโรคน้ำกัดเท้า เพียงใช้น้ำมะนาวทาในบริเวณเท้าที่ถูกน้ำกัดเป็นประจำทุกวัน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
  11. แก้แผลที่เป็นบาดทะลัก เพียงใช้น้ำมะนาวทาที่บริเวณแผล แต่จะรู้สึกแสบในครั้งแรกที่ทา
  12. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เพียงใช้น้ำมะนาวทาบริเวณที่โดนกัด จะช่วยลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการปวดลงได้
  13. แก้แผลไฟไหม้ ผุพอง น้ำร้อนลวก เพียงนำน้ำมะนาวมาทาให้ทั่วบริเวณที่เป็น จะช่วยป้องกันการอักเสบของแผลและลดอาการแสบร้อนลงได้
  14. นอกจากช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยแล้ว มะนาวยังมีสรรพคุณในการรักษาและบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

ภัยแล้ง กับประเทศไทย

ฝนทิ้งช่วงคืออะไร
หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝน
เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูงคือ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม

ฝนทิ้งช่วง น้ำแห้งเขื่อน

ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้าง
ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่


  • ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของ ปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
  • ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ 

ภัยแล้ง

 พื้นที่ใดในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรม โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีกดังตารางข้างล่าง

วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้งทำได้อย่างไร
วิธีการแก้ปัญหาภัยแล้วสามารถกระทำได้ดังนี้

1. แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น แจกน้ำให้ประชาชน ขุดเจาะน้ำบาดาล สร้างศูนย์จ่ายน้ำ จัดทำฝนเทียม
2. การแก้ปัญหาระยะยาว โดยพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น สร้างฝาย เขื่อน ขุดลอกแหล่งน้ำ รักษาป่าและปลูกป่า ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมมือในการจัดทำและพัฒนาชลประทาน

แก้ภัยแล้ง ต้องดูแลตนเอง
ช่วงของการเกิดภัยแล้ง