สวนรักษ์มะนาว

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

สวนรักษ์มะนาว

การปลูกมะนาว: มะนาวพันธุ์พิจิตร 1, มะนาวพันธุ์ด่านเกวียน, มะนาวหนัง, มะนาวไข่, มะนาวทราย, มะนาวตาฮิติ,มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี

ชาวสวน แนะนำ

ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” สุดยอดปราชญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกมะนาวออกลูกต้นละหนึ่งพันถึงสามพันลูก คนคิดค้นเผยจบ ม.3 ลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ

ตารางการผลิตมะนาวนอกฤดู

ตารางการผลิตมะนาวนอกฤดูในภาชนะ
 
การผลิตมะนาวนอกฤดูในภาชนะ

การจะบังคับให้มะนาวติดผลนั้น ควรทำเมื่อปลูกมะนาวไปแล้วประมาณ 8-10 เดือน ช่วงเดือนสิงหาคมควรตัดแต่งกิ่งแขนง กิ่งที่มีโรค กิ่งที่ติดดอกและผลมะนาวออกให้หมด หลังจากนั้นงดการให้น้ำมะนาวในเดือนตุลาคม ประมาณ 7-10 วัน สังเกตใบมะนาวมีอาการเหี่ยวหรือใบสลด ใบอาจจะร่วงบ้าง 10 – 15 เปอร์เซนต์ เริ่มให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 10 กรัม(1 ช้อนแกง)รอบๆขอบกระถาง และรดน้ำตามทันที หลังจากนั้น 15 วัน มะนาวเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกเป็นสีขาว ควรพ่นสมุนไพรน้ำส้มควันไม้หรือยาฆ่าแมลง อะบาเม็กตินผสมกับคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันโรคและแมลง ต่าง ๆ และหลังจากติดดอกแล้ว 4 เดือนก็สามารถเก็บผลมะนาวได้

น้ำมะนาวเทียม

น้ำมะนาวเทียม กรดมะนาว
“น้ำมะนาวเทียม” 
(น้ำมะนาว + กรดซิตริก + อย.)
น้ำมะนาวเทียมทำได้โดยนำผลมะนาวมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองเนื้อและสิ่งสกปรกออกไป จากนั้นนำมาผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ เช่น กรดซิตริก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ ว่า กรดมะนาว โดยอัตราส่วนนั้นก็แล้วแต่ผู้ผลิต 

ตัวอย่างเช่น น้ำมะนาว 30% ก็คือมีน้ำมะนาวแท้ 30% ผสมกับน้ำและส่วนผสมอื่นๆ อีก 70% และมีการแต่งสี แต่งกลิ่น ให้ใกล้เคียงน้ำมะนาวธรรมชาติ 

กรดซิตริกพบได้ทั่วไปในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด ดังนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นสารเคมีที่ปลอดภัย สามารถเติมลงในอาหารได้โดยไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้กรดซิตริกยังสามารถย่อยสลายได้ง่ายอีกด้วย 

ผู้ผลิตบางรายผลิตน้ำมะนาวเทียมด้วย วิธีที่ไม่ถูกต้องและไม่ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงควรเลือกซื้อน้ำมะนาวเทียมที่มีเลขที่ อย. 

น้ำมะนาวเทียม ในเชิงโภชนาการ การดัดแปลงใช้ผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นแทนมะนาว เช่น มะม่วงเปรี้ยว มะดัน ตะลิงปลิง มะขามอ่อน หรือมะขามเปียก จะได้คุณค่าทางโภชนาการและรสชาติที่ดีกว่าการใช้สารเคมีอย่างน้ำมะนาวเทียม