สวนรักษ์มะนาว

ชาวสวน แนะนำ

ต้นตำรับ “มะนาวแป้นวโรชา” สุดยอดปราชญ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกมะนาวออกลูกต้นละหนึ่งพันถึงสามพันลูก คนคิดค้นเผยจบ ม.3 ลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ

วิธีการต่างๆ เพื่อลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลง

ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยการกำจัดศัตรูพืชแบบชีวภาพ

(วิธีการต่างๆ เพื่อลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลง)

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวหรือเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสนใจในเรื่องของผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีมากขึ้น ผักที่ปลูกด้วยวิธีอินทรีย์เป็นความหวังใหม่ของผู้บริโภคที่ต้องการรับประทานสิ่งที่ปลอดภัยกว่าแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าก็ตาม

การใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีทางการเกษตร มีข้อดีคือสามารถลดการใช้แรงงานลงไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างมากมายมหาศาลในปัจจุบัน ทำให้เกิดการปนเปื้อน ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและความเสียหายกับสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ นอกจากนี้การใช้สารกำจัดศรัตรูพืชในปริมาณมากเพื่อการปลูกหญ้าในสนามกอล์ฟ ทำให้เกิดเป็นปัญหาการปนเปื้อนของสารเหล่านั้นในดินและน้ำใต้ดิน สารกำจัดศรัตรูพืชส่วนใหญ่แล้วเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นทางเคมี ดังนั้นเมื่อเกิดการปนเปื้อนในธรรมชาติก็จะกลายเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้สารเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดโรคและแมลง พืชก็ไม่ต่างจากคนเราที่ติดเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีอาการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคขึ้น สารเคมีเหล่านี้จึงถูกนำมาใช้เพื่อทำการรักษาและป้องกันโรคเหล่านี้

พืชก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น เมื่อติดเชื้อโรคแล้วก็จะมีปฏิกิริยาต่างๆ เกิดขึ้นมาต่อต้านเชื้อเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อเหล่านั้น เมื่อมีเชื้อเข้ามารุกราน พืชก็จะพยายามจำแนกโครงสร้างของผนังเซลล์ของเชื้อ และพิจารณาว่าเชื้อเหล่านั้นเป็นเชื้อก่อโรคหรือไม่ ดังนั้นหากเรานำสารประกอบที่มีโครงสร้างคล้ายกับผนังเซลล์ของเชื้อก่อโรคไปโปรยหรือฉีดให้กับพืช พืชก็จะเข้าใจว่าสารประกอบนี้คือเชื้อก่อโรคและมีปฏิกิริยาตอบสนองเกิดขึ้น เป็นการสร้างระบบการป้องกันตัวเอาไว้ก่อนล่วงหน้าและเมื่อเชื้อโรคเข้ามารุกรานจริงๆ ก็จะไม่สามรถทำอันตรายต่อพืชได้ หรือก็คือเป็นการให้วัคซีนกับพืชนั่นเอง

สารประกอบที่มีโครงสร้างคล้ายกับผนังเซลล์ของเชื้อก่อโรคและนำมาทำให้พืชเข้าใจผิดว่าเป็นเชื้อก่อโรคนั้น ได้แก่ ฟูคอยดัน (fucoidan) ที่ได้จากสาหร่ายเคลป์ และโอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งหลั่งออกมาจากสาหร่ายสีแดง เป็นต้น สารเหล่านี้เป็นสารประกอบที่มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้แล้วไคตินและไคโตซานจากเปลือกและกระดองของปูก็สามารถนำมาใช้กับวิธีการนี้ได้ เมื่อนำมาเจือจางด้วยน้ำแล้วฉีดพ่นให้กับพืช 

พบว่าเกือบจะไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืชเลย และหวังกันว่าในอนาคตปริมาณการใช้สารเคมีปราบศรัตรูพืชคงจะลดลงได้มาก นอกจากนี้แมลงศรัตรูพืชเองก็มีศรัตรูธรรมชาติ หากนำวิธีทางธรรมชาติมาใช้ได้ก็จะลดการใช้สารเคมีปราบศรัตรูพืชลงได้มากเช่นกัน แต่ในกรณีที่เป็นการนำเอาแมลงจากแหล่งอื่นเข้ามาในท้องถิ่น จำเป็นต้องพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับแมลงที่อยู่ในพื้นที่เดิมที่อาจจะได้รับผลกระทบจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้หรือสูญพันธุ์ไป จนอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านระบบนิเวศได้

ประเด็นสำคัญ
·       ปกติแล้ว เมื่อพืชได้รับเชื้อก่อโรคก็จะมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อ ดังนั้น หากพืชได้รับสารประกอบที่มีโครงสร้างคล้ายเชื้อก่อโรคก็จะมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อก่อนที่จะติดเชื้อก่อโรคจริงได้

อธิบายศัพท์
ฟูคอยดัน : สารประกอบพวกพอลิแซ็กคาไรด์ซัลเฟต (sulfated polysaccharide) มีลักษณะเป็นเมือกเหนียว ได้จากสาหร่ายหลายชนิด เช่น เคลป์ คลาโดไซฟอน เป็นต้น ปัจจุบัน ยังนิยมใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพอีกด้วย